ภาพจาก http://www.dhammathai.org |
การสร้างวัตถุมงคลเกี่ยวแก่พระนางจามเทวีนั้นมีมานาน
ตั้งแต่ก่อนที่จะมีการสร้างพระราชานุสาวรีย์ในพ.ศ.๒๕๒๕
และที่นิยมกันในวงการพระเครื่องมากที่สุด
น่าจะเป็น เหรียญพระนางจามเทวี รุ่น ๗๐๐ ปี วัดหนองช้างคืน อ.เมือง จ.ลำพูน
ซึ่งสร้างขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๑๒ ซึงนับว่าเป็นเหรียญพระนางจามเทวีรุ่นแรกสุดครับ
ภาพจาก http://uauctio.uamulet.com |
ปัจจุบัน
คติการนับถือบูชาพระนางจามเทวีแพร่หลายไปทั่วภาคเหนือ
ทำให้มีการจัดสร้างพระรูปและวัตถุมงคลพระนางจามเทวีสำหรับบูชาโดยวัดต่างๆ
ที่มีพระรูปหรือพระราชานุสาวรีย์ประดิษฐานอยู่
แต่ในที่นี้ผมขอกล่าวเฉพาะวัตถุมงคลเกี่ยวแก่พระนางจามเทวีที่สร้างในลำพูน เพื่อเป็นการบันทึกไว้
เพราะบางอย่างก็หาไม่ได้แล้วครับ
ที่น่าสนใจพอจะยกตัวอย่างได้ดังนี้
ที่น่าสนใจพอจะยกตัวอย่างได้ดังนี้
ภาพจาก http://uauction2.uamulet.com |
๑) พระกริ่งจามเทวี วัดบ้านปาง อ.ลี้
อันเป็นสถานที่สำคัญในประวัติครูบาศรีวิชัย
ลักษณะเป็นพระรูปประทับนั่งแบบวัชราสนะ (ขัดสมาธิเพชร) บนฐานบัว พระพักตร์ตลอดจนพระลักษณะงดงามบอบบางและดูสงบเยือกเย็น ใต้ฐานบรรจุกริ่ง ฝีมือการออกแบบและมาตรฐานการสร้างอยู่ในขั้นดี
พิธีมังคลาาภิเษกเมื่อ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๘
ลักษณะเป็นพระรูปประทับนั่งแบบวัชราสนะ (ขัดสมาธิเพชร) บนฐานบัว พระพักตร์ตลอดจนพระลักษณะงดงามบอบบางและดูสงบเยือกเย็น ใต้ฐานบรรจุกริ่ง ฝีมือการออกแบบและมาตรฐานการสร้างอยู่ในขั้นดี
พิธีมังคลาาภิเษกเมื่อ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๘
ภาพจาก http://mongkol88.blogspot.com |
๒) เหรียญที่ระลึกสร้างพระราชานุสาวรีย์ ทำด้วยโลหะผสม
ไม่ทราบองค์กรที่จัดสร้าง
ด้านหน้ามีพระรูปพระนางจามเทวีประทับยืนพิมพ์นูนต่ำ รายละเอียดฉลองพระองค์ไม่เหมือนพระรูปบนราชานุสาวรีย์ เข้าใจว่าช่างผู้สร้างออกแบบก่อนที่จะทันเห็นพระรูปดังกล่าว
ด้านหลังมีจารึกข้อความร่วมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี ฝีมือการออกแบบอยู่ในขั้นพอประมาณ
พิธีมังคลาภิเษก ณ ลานพระราชานุสาวรีย์พระนางจามเทวี ที่หนองดอก มีพระมหาเถระเกจิอาจารย์ ในยุคนั้น
เช่น ครูบาพรหมา วัดพระพุทธบาทตากผ้า, ครูบาวงศ์ วัดพระบาทห้วยต้ม, ครูบาธรรมชัย วัดทุ่งหลวง, ครูบาหล้า ตาทิพย์ วัดป่าตึง, ครูบาอินตา วัดห้วยไซ, หลวงปู่สิม วัดถ้ำผาปล่อง, ท่านเจ้าคุณธรรมโมลี วัดพระธาตุหริภุญชัย เป็นต้น
รวมถึงพิธีพราหมณ์บวงสรวงตามประเพณีอย่างถูกต้อง
๓) พระรูปบชา พระนางจามเทวี วัดท่าซุง ขนาดบูชา จัดสร้างโดย พระสุพรหมญาณเถระ (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
พิธีมังคลาภิเษกที่ วิหารแก้ว ๑๐๐ เมตร วัดท่าซุง เมื่อวันที่ ๘ ก.พ. พ.ศ.๒๕๓๕ ถือเป็นพระบูชารุ่นแรกๆ ของพระนางจามเทวี ที่ไม่ค่อยได้พบเห็นกันทั่วไปนัก
ฝีมือการออกแบบอยู่ในขั้นดีครับ สัดส่วนเค้าโครงของพระรูป ตลอดจนฉลองพระองค์ เป็นการจำลองจากพระราชานุสาวรีย์ได้อย่างงดงาม รายละเอียดคมชัด
ด้านหน้ามีพระรูปพระนางจามเทวีประทับยืนพิมพ์นูนต่ำ รายละเอียดฉลองพระองค์ไม่เหมือนพระรูปบนราชานุสาวรีย์ เข้าใจว่าช่างผู้สร้างออกแบบก่อนที่จะทันเห็นพระรูปดังกล่าว
ด้านหลังมีจารึกข้อความร่วมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี ฝีมือการออกแบบอยู่ในขั้นพอประมาณ
พิธีมังคลาภิเษก ณ ลานพระราชานุสาวรีย์พระนางจามเทวี ที่หนองดอก มีพระมหาเถระเกจิอาจารย์ ในยุคนั้น
เช่น ครูบาพรหมา วัดพระพุทธบาทตากผ้า, ครูบาวงศ์ วัดพระบาทห้วยต้ม, ครูบาธรรมชัย วัดทุ่งหลวง, ครูบาหล้า ตาทิพย์ วัดป่าตึง, ครูบาอินตา วัดห้วยไซ, หลวงปู่สิม วัดถ้ำผาปล่อง, ท่านเจ้าคุณธรรมโมลี วัดพระธาตุหริภุญชัย เป็นต้น
รวมถึงพิธีพราหมณ์บวงสรวงตามประเพณีอย่างถูกต้อง
ภาพจาก http://settheetham.com |
๓) พระรูปบชา พระนางจามเทวี วัดท่าซุง ขนาดบูชา จัดสร้างโดย พระสุพรหมญาณเถระ (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
พิธีมังคลาภิเษกที่ วิหารแก้ว ๑๐๐ เมตร วัดท่าซุง เมื่อวันที่ ๘ ก.พ. พ.ศ.๒๕๓๕ ถือเป็นพระบูชารุ่นแรกๆ ของพระนางจามเทวี ที่ไม่ค่อยได้พบเห็นกันทั่วไปนัก
ฝีมือการออกแบบอยู่ในขั้นดีครับ สัดส่วนเค้าโครงของพระรูป ตลอดจนฉลองพระองค์ เป็นการจำลองจากพระราชานุสาวรีย์ได้อย่างงดงาม รายละเอียดคมชัด
๔) พระรูปบูชา พระนางจามเทวีทรงสละราชสมบัติออกผนวช วัดจามเทวี ถือได้ว่าเป็นวัตถุมงคลชิ้นเยี่ยมของวัด
และได้รับการออกแบบจัดสร้างอย่างดีที่สุดในบรรดาพระรูปทั้งหลายที่มีอยู่ในขณะนี้
พระรูปดังกล่าวมีขนาดสูง ๙ และ ๑๙ นิ้ว
เป็นรูปลอยองค์ประทับยืนย่างพระบาทบนฐานบัวคว่ำบัวหงาย พระหัตถ์ขวายกขึ้นประทานอภัย
พระหัตถ์ซ้ายทรงดอกบัว สัดส่วนเค้าโครงของพระรูป ตลอดจนฉลองพระองค์ เป็นการจำลองจากพระราชานุสาวรีย์ได้อย่างงดงาม
รายละเอียดคมชัด
พระรูปชุดนี้ทำอยู่ ๒ คราว คราวแรกทำขนาด ๙
นิ้วทำด้วยโลหะผสมรมสีมันปู ส่วนองค์ใหญ่ชุบสีทองบลอนด์นั้นทำทีหลัง
งามไม่เท่าองค์เล็ก
ปัจจุบัน (๒๕๕๙) พระรูปดังกล่าวนี้หมดไปแล้ว
แต่ได้มีการผลิตซ้ำเฉพาะขนาดสูง ๙ นิ้วซึ่งไม่สวยเท่าของเดิม
๕) พระรูปบูชา พระนางจามเทวีครองเมือง
วัดจามเทวี เป็นพระรูปลอยองค์ประทับยืนบนแท่นกลม ขนาด ๑๑ และ ๑๙ นิ้ว
องค์ที่ใหญ่กว่านั้นสร้างขึ้นก่อน ทำด้วยโลหะผสมชุบสีทองบลอนด์ สัดส่วนเค้าโครงพระรูป ตลอดจนฉลองพระองค์จำลองจากพระราชานุสาวรีย์ทุกอย่าง ฝีมืองดงามประณีต รายละเอียดคมชัด แต่สัดส่วนพระรูปผิดหลักทัศนียวิทยาไปบ้าง
องค์ที่ใหญ่กว่านั้นสร้างขึ้นก่อน ทำด้วยโลหะผสมชุบสีทองบลอนด์ สัดส่วนเค้าโครงพระรูป ตลอดจนฉลองพระองค์จำลองจากพระราชานุสาวรีย์ทุกอย่าง ฝีมืองดงามประณีต รายละเอียดคมชัด แต่สัดส่วนพระรูปผิดหลักทัศนียวิทยาไปบ้าง
ส่วนองค์เล็กขนาด ๑๑ นิ้วที่สร้างต่อมานั้น
พระพักตร์งามสู้องค์ใหญ่ไม่ได้ แต่สัดส่วนใกล้เคียงกับที่พระราชานุสาวรีย์มากกว่า
ปัจจุบันคงจะมีเหลือแต่ที่เป็นบล็อกเลียนแบบ
๖) พระรูปบูชา ธรรมสถานวัดดอนแก้ว พ.ศ.๒๕๒๙ เป็นรูปหล่อลอยองค์เนื้อทองเหลือง และทองเหลืองรมสีเม็ดมะขามขนาดสูง ๙ และ ๑๑
นิ้ว จำลองแบบพระราชานุสาวรีย์
พระบูชารุ่นนี้ จะเรียกว่างดงามไม่ได้นะครับ
เพราะพูดตรงๆ คือ ไม่เหมือนพระราชานุสาวรีย์เลย
ศิราภรณ์และเครื่องประดับ ตลอดจนฉลองพระองค์ก็ผิดส่วน
แต่ศักดิ์สิทธิ์ และมีประสบการณ์มากที่สุดครับ
ในรุ่นเดียวกันนี้ ยังมีพระรูปจำลองจากพระราชานุสาวรีย์ขนาดเล็ก สำหรับแขวนหน้ารถ ซึ่งมีสัดส่วนและรายละเอียดงดงามถูกต้องตามแบบพระรูปจริงมากกว่าพระรูปองค์ใหญ่ที่กล่าวมาแล้ว
พิธีมังคลาภิเษก ๒๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๓๙ ณ ธรรมสถานวัดดอนแก้ว โดยพระคณาจารย์ทรงสมณศักดิ์ในจังหวัดลำพูนและเชียงใหม่ ๖ รูป มีพระราชธีราภรณ์ เจ้าคณะจังหวัดลำพูนในขณะนั้นเป็นประธาน และมีพระเกจิชื่อดัง เช่น ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ ร่วมด้วย
แต่ศักดิ์สิทธิ์ และมีประสบการณ์มากที่สุดครับ
ในรุ่นเดียวกันนี้ ยังมีพระรูปจำลองจากพระราชานุสาวรีย์ขนาดเล็ก สำหรับแขวนหน้ารถ ซึ่งมีสัดส่วนและรายละเอียดงดงามถูกต้องตามแบบพระรูปจริงมากกว่าพระรูปองค์ใหญ่ที่กล่าวมาแล้ว
พิธีมังคลาภิเษก ๒๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๓๙ ณ ธรรมสถานวัดดอนแก้ว โดยพระคณาจารย์ทรงสมณศักดิ์ในจังหวัดลำพูนและเชียงใหม่ ๖ รูป มีพระราชธีราภรณ์ เจ้าคณะจังหวัดลำพูนในขณะนั้นเป็นประธาน และมีพระเกจิชื่อดัง เช่น ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ ร่วมด้วย
๗) พระรูปขนาดบูชาหน้ารถ ธรรมสถานวัดดอนแก้ว
จำลองแบบจากพระราชานุสาวรีย์ มี ๒ รุ่น รุ่นแรกสูง ๒.๕ นิ้ว รุ่นต่อมาสูง ๓ นิ้ว
ทั้งสองรุ่น ฝีมือการออกแบบและรายละเอียดอยู่ในขั้นดีมาก มีสัดส่วนและรายละเอียดงดงามกว่าพระรูปขนาดบูชาทุกรุ่นของสำนักนี้ จะเป็นรองก็เพียงรูปลอยองค์เล็กสำหรับแขวนหน้ารถ ในรุ่นอนุรักษ์ธรรมสถานวัดดอนแก้วเท่านั้น
ทั้งสองรุ่น ฝีมือการออกแบบและรายละเอียดอยู่ในขั้นดีมาก มีสัดส่วนและรายละเอียดงดงามกว่าพระรูปขนาดบูชาทุกรุ่นของสำนักนี้ จะเป็นรองก็เพียงรูปลอยองค์เล็กสำหรับแขวนหน้ารถ ในรุ่นอนุรักษ์ธรรมสถานวัดดอนแก้วเท่านั้น
พระรูปทั้งสองรุ่นนี้ ทำออกมาพร้อมกับครอบพลาสติกแบบถาวร สำหรับตั้งบูชาหน้ารถ ครอบพลาสติกออกแบบดีกว่าพระบูชาหน้ารถของวัดทั่วไปในช่วงเวลาเดียวกัน
โดยรุ่นแรกนั้นจะมีจุดสังเกตว่า การประกอบพระรูปเข้าในครอบพลาสติก จะยึดแนวพระบาทและด้านหน้าพระองค์เป็นหลัก แทนที่จะยึดทิศทางที่พระพักตร์หันไป ทำให้พระพักตร์หันไปทางขวามากเกินไป
โดยรุ่นแรกนั้นจะมีจุดสังเกตว่า การประกอบพระรูปเข้าในครอบพลาสติก จะยึดแนวพระบาทและด้านหน้าพระองค์เป็นหลัก แทนที่จะยึดทิศทางที่พระพักตร์หันไป ทำให้พระพักตร์หันไปทางขวามากเกินไป
ส่วนรุ่นต่อมา การประกอบไม่ผิดพลาด
แต่การหล่อจากโรงงานไม่ดีทำให้ใต้ฐานเอียงไปเล็กน้อย
วัตถุมงคลทั้งสองรุ่นนี้ ไม่มีรายละเอียดการจัดสร้างและพิธีมังคลาภิเษกครับ
วัตถุมงคลทั้งสองรุ่นนี้ ไม่มีรายละเอียดการจัดสร้างและพิธีมังคลาภิเษกครับ
๘) พระรูปบูชา พระนางจามเทวีทรงสละราชสมบัติออกผนวช
วัดสันป่ายางหน่อม พิมพ์เดียวกับขนาดสูง ๙ นิ้วของวัดจามเทวี
เป็นรูปลอยองค์ประทับยืนย่างพระบาทบนฐานบัวคว่ำบัวหงาย
พระหัตถ์ขวายกขึ้นประทานอภัย พระหัตถ์ซ้ายทรงดอกบัว
สัดส่วนเค้าโครงของพระรูป
ตลอดจนฉลองพระองค์นั้น พูดได้ว่าเหมือนกับของวัดจามเทวีทุกอย่าง
แต่พระพักตร์สวยกว่ารุ่นปัจจุบันของวัดจามเทวี การประกอบดอกบัวในพระหัตถ์ขวาก็ไม่เหมือนกัน มีทั้งแบบรมมันปูและชุบสีทองบลอนด์
น่าจะเป็นพระบูชาของพระนางจามเทวีเพียงวัดเดียวในลำพูนที่หาได้ง่ายที่สุดในขณะนี้ครับ แต่ก็มีข่าวจากคนท้องถิ่นว่า มีของเสริม (ไม่ผ่านพิธี) กันแล้ว
น่าจะเป็นพระบูชาของพระนางจามเทวีเพียงวัดเดียวในลำพูนที่หาได้ง่ายที่สุดในขณะนี้ครับ แต่ก็มีข่าวจากคนท้องถิ่นว่า มีของเสริม (ไม่ผ่านพิธี) กันแล้ว
๙) พระรูปบูชา พระนางจามเทวีครองเมือง
วัดสันป่ายางหน่อม เป็นพระรูปลอยองค์ประทับยืนบนแท่นกลมที่มีขนาดสูง ๙ นิ้ว
ทำด้วยทองเหลืองขัดเงาและทองเหลืองรมดำ
สัดส่วนเค้าโครงพระรูป ตลอดจนฉลองพระองค์จำลองจากพระราชานุสาวรีย์ ฝีมือเดียวกับในข้อ ๗ แต่ดีกว่าในด้านสัดส่วน รายละเอียดก็คมชัดกว่าด้วยครับ
สัดส่วนเค้าโครงพระรูป ตลอดจนฉลองพระองค์จำลองจากพระราชานุสาวรีย์ ฝีมือเดียวกับในข้อ ๗ แต่ดีกว่าในด้านสัดส่วน รายละเอียดก็คมชัดกว่าด้วยครับ
๑๐) พระรูปขนาดบูชาหน้ารถ วัดสันป่ายางหน่อม
จำลองแบบจากพระราชานุสาวรีย์ สัดส่วนเค้าโครงพระรูป ตลอดจนฉลองพระองค์ทำได้ดี
มีรายละเอียดที่สวยงาม สูง ๔ นิ้ว ฐานกว้าง ๑.๕ นิ้ว ฐานมีมวลสารเป็นดินบรรจุภายใน
มีทั้งแบบรมมันปูและชุบสีทองบลอนด์ หลวงปู่ครูบาอินตา นักขันโธ แห่งวัดวังทอง อธิษฐานจิต พ.ศ.๒๕๕๐
มีทั้งแบบรมมันปูและชุบสีทองบลอนด์
ภาพจากเพจ โบราณสถาน วัดป่าคะยอมใต้ จ.ลำพูน |
๑๑) พระรูปขนาดบูชา ปางตริภังค์ วัดป่าคะยอมใต้
เป็นพระรูปลอยองค์ประทับยืนบนแท่น ๘ เหลี่ยมที่มีขนาดสูง ๑๘ นิ้ว
ทำด้วยทองเหลืองรมมันปู
สัดส่วนเค้าโครงพระรูป ตลอดจนฉลองพระองค์จำลองแบบจากพระรูปที่ทางวัดให้ศิลปินในลำพูนออกแบบสร้างขึ้นใหม่ เป็นลักษณะลีลาของทางวัดโดยเฉพาะ คล้ายๆ กับเป็นการรวมกันของพระรูปพระนางจามเทวีทรงสละราชสมบัติออกผนวช กับพระรูปพระนางจามเทวีครองเมือง
แต่พระหัตถ์ขวาที่ยกขึ้นประทานอภัยนั้นฝ่าพระหัตถ์ไปด้านข้าง และลักษณะของพระรูปมีการก้าวย่างมากกว่า เพราะช่างต้องการเน้นให้รู้สึกว่ากำลังเคลื่อนไหว
สัดส่วนเค้าโครงพระรูป ตลอดจนฉลองพระองค์จำลองแบบจากพระรูปที่ทางวัดให้ศิลปินในลำพูนออกแบบสร้างขึ้นใหม่ เป็นลักษณะลีลาของทางวัดโดยเฉพาะ คล้ายๆ กับเป็นการรวมกันของพระรูปพระนางจามเทวีทรงสละราชสมบัติออกผนวช กับพระรูปพระนางจามเทวีครองเมือง
แต่พระหัตถ์ขวาที่ยกขึ้นประทานอภัยนั้นฝ่าพระหัตถ์ไปด้านข้าง และลักษณะของพระรูปมีการก้าวย่างมากกว่า เพราะช่างต้องการเน้นให้รู้สึกว่ากำลังเคลื่อนไหว
พระบูชารุ่นนี้ออกให้บูชาสำหรับเจ้าภาพกองทุนบูรณปฏิสังขรณ์โบราณสถาน
กองทุนละ ๑๕,๐๐๐ บาทในช่วงครึ่งแรกของปีพ.ศ.๒๕๕๘
พระบูชาและวัตถุมงคลรูปแบบอื่นๆ นอกจากนี้
ยังมีอีกมากครับ ไม่สามารถจะนำมากล่าวถึงได้ทั้งหมด
และรูปแบบส่วนใหญ่ก็ไม่แตกต่างกัน บางวัดที่พยายามทำให้แตกต่างเช่นวัดป่าคะยอมใต้
ถ้าจะพูดในทางศิลปะจริงๆ ก็ยังไม่ลงตัวเท่าที่ควร และยังคงเป็นรูปยืนอยู่
ผมอยากเห็นพระบูชาพระนางจามเทวี ที่เป็นปางนั่งบัลลังก์
แบบองค์ใหญ่ที่สถาบันผ้าทอมือหริภุญไชยครับ แต่ยังไม่ได้ข่าวว่ามีการจัดสร้าง
ถ้าได้ข่าวเมื่อไหร่ก็จะมา update ใน blog นี้แน่นอนครับ
………………………
หมายเหตุ :
เนื้อหาในบทความนี้ มีลิขสิทธิ์ ใครจะนำไปใช้อ้างอิงที่ใด ไม่ว่าส่วนใดส่วนหนึ่ง
หรือทั้งหมด จะต้องระบุ URL ของแต่ละบทความด้วย
และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าโดยเด็ดขาด
ตอนนี้มีพระกริ่ง กับ พระนางจามเทวีสละราชสมบัติ ของวัดจามเทวี มีความสุขมากค่ะ ^ ^
ReplyDeleteเก็บไว้ดีๆ นะครับ อีกหน่อยจะเป็นตำนานวัตถุมงคลสายพระนางจามเทวีทั้งคู่
Deleteอยากได้พระนางจามเทวีนั่งบัลลังก์ค่ะ ท่ายืนจัดยาก
ReplyDeleteผมก็อยากได้เหมือนกันครับ แต่ยังไม่เห็นข่าวว่ามีใครจัดสร้าง นอกจากของหมอลักษณ์ โหรเสื้อแดงที่ออกในนามวัดพระธาตุหริภุญชัย ซึ่งผมได้ยินมาแว่วๆ ว่ามีการสร้างให้พวก VIP เสื้อแดงจำนวนหนึ่ง แล้วฝีมือก็ไม่ได้ดีไปกว่าองค์ต้นแบบที่วัดพระธาตุหริภุญชัยหรอกครับ
Deleteพระรูปพระนางจามเทวี วัดสันป่ายางหน่อมแนะนำให้เอาไปที่วัดนะครับเพราะทราบว่าในร้านมีบล๊อกเสริมแล้วครับ
Deleteขอบคุณคุณ John Lawman ครับ ที่มาช่วย update
Delete