ในหนังสือ จอมนางหริภุญไชย ผมเขียนไว้ว่า...
ในฐานะที่ทรงเป็นกษัตริย์ยุคทวารวดีด้วยพระองค์หนึ่ง
จึงคาดได้ว่า พระนางจามเทวีคงจะฉลองพระองค์คล้ายกัน หรือเปรียบเทียบกันได้กับแบบอย่างอินเดีย
ซึ่งเป็นความนิยมที่มีอยู่ในสถาบันกษัตริย์เอเชียอาคเนย์โดยทั่วไปสมัยนั้น
ลักษณะการฉลองพระองค์เช่นนี้
มีตัวอย่างจากบรรดาเทวรูปสมัยทวารวดีที่ได้มาจากที่ต่างๆ
ให้พอเปรียบเทียบได้อยู่บ้างครับ เพราะฉลองพระองค์ของเทวรูปสมัยโบราณ
ก็มักจะมีพื้นฐานอันเดียวกันกับฉลองพระองค์กษัตริย์ในสมัยที่สร้างเทวรูปองค์นั้นนั่นเอง
จากตัวอย่างดังกล่าว
เราจึงพอจะกำหนดได้อย่างคร่าวๆ ว่า พระนางคงทรงไว้พระเกศายาว และมุ่นมวยพระเกศาไว้เหนือท้ายทอยหรือกลางพระเศียร
พระเกศาที่ทรงรวบไว้นี้
อาจมีพวงดอกไม้หรือเกี้ยวที่ทำด้วยทองรัดเป็นปล้องๆ
ประดับโดยปกติเมื่อเสด็จออกนอกที่ประทับ
หรือถ้าทรงออกงานพิธีระดับที่ไม่สำคัญ
ก็อาจจะทรงมีศิราภรณ์ทรงกรวยแบบสนองเกล้าของสมัยอยุธยาสวมครอบไว้อีกทีหนึ่งนะครับ
แต่ถ้าอยู่ในที่ประทับส่วนพระองค์ อาจจะเพียงแต่ทรงเกล้าพระเกศา
แล้วเสียบหวีประดับไว้อย่างสตรีอินเดียโบราณก็ได้
ส่วนศิราภรณ์ที่เป็นขนาดใหญ่ เช่น กีรีฏมกุฎแบบอินเดียนั้น ยังไม่ปรากฏว่า
มีอยู่ในภาพเจ้านายสตรีที่เป็นประติมากรรมสมัยทวารวดีเลยครับ
พบอยู่แต่รูปเคารพที่เป็นบุรุษ
แต่พระนางจามเทวีก็อาจทรงใช้ศิราภรณ์ประเภทนี้ในพระราชพิธีสำคัญต่างๆ
ได้นะครับ เพราะว่าโดยพระราชฐานะแล้ว พระนางทรงเป็นกษัตริย์เช่นกัน
บางทีพระนางจะได้ทรงศิราภรณ์ประเภทนี้
ตั้งแต่ทรงรับการราชาภิเษกขึ้นเสวยราชสมบัติในหริภุญไชยเป็นครั้งแรกแล้วก็ได้นะครับ
สำหรับกุณฑลหรือต่างหูนั้น
เราพบตัวอย่างต่างหูสมัยทวารวดีมากมาย มีทั้งทำด้วยทองคำ ดีบุก และหิน ซึ่งทั้งหมดล้วนมีน้ำหนักมาก เมื่อสวมนานๆ
เข้าจะถ่วงติ่งหูให้ยาวลงมาเคลียไหล่
และจากรูปประติมากรรมทั้งบุรุษและสตรีในสมัยทวารวดี
ต่างก็นิยมสวมต่างหูแบบนี้กันทั้งนั้นน่ะสิครับ
ภาพปูนปั้น คณะนักดนตรีสมัยทวารวดี พบที่โบราณสถานใน อ.คูบัว จ.ราชบุรี แต่ละคนส่วมต่างหูที่ถ่วงหูจนยาวเคลียบ่า (คนขวาสุดหักหายไป) |
จึงมีความเป็นไปได้สูงว่า พระนางจามเทวีก็คงทรงใช้ต่างหูที่ว่านี้ด้วยเช่นกัน ซึ่งเมื่อนึกภาพแล้ว คงจะขัดความรู้สึกของคนสมัยเราแน่นอนครับ แต่ในสมัยเมื่อพันกว่าปีก่อนนั้น ถือกันว่าเป็นความงามอย่างหนึ่ง
อีกสิ่งหนึ่งที่พวกเราโดยทั่วไปจะพากันยอมรับได้ยากก็คือ
พระนางอาจจะไม่ทรงมีฉลองพระองค์สวมทับพระวรกายท่อนบน
แม้ว่าจะเป็นการเสด็จออกพระราชพิธีที่ต้องทรงเครื่องใหญ่ก็ตาม
ด้วยเหตุที่ว่าในสมัยโบราณ
สตรีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยทั่วไปไม่นิยมสวมเสื้อครับ
เพียงแต่คล้องผ้าพาดเฉวียงบ่าไว้เพื่ออวดฐานะ คือแสดงให้เห็นว่า
สามารถที่จะซื้อหาผ้าดีๆ มาประดับตกแต่งร่างกายได้เท่านั้นเอง
เนื่องด้วยในยุคบรรพกาลนั้น
ผ้าไม่ใช่ของหาง่ายอย่างในสมัยของเรานะครับ ในสมัยนั้นไม่มีโรงงานทอผ้า
ดังนั้นนอกจากในรั้วในวังที่มีศักยภาพพอจะจัดหาช่างทอผ้าไว้ประจำแล้ว
คนธรรมดาสามัญทั่วไปแต่ละบ้านก็ต้องทอผ้ากันใช้เองทั้งนั้น
ซึ่งก็ต้องใช้เวลานานครับว่าจะทอได้แต่ละผืน
ดังนั้น
ถ้าไม่ใช่ผ้านุ่งที่จำเป็นต้องใช้กันเป็นปกติแล้ว ผ้าอื่นๆ
ก็ถือเป็นของฟุ่มเฟือยทั้งนั้นละครับ
ภาพปูนปั้น เจ้าหญิงและนางกำนัล สมัยทวารวดี จากโบราณสถานใน อ.คูบัว จ.ราชบุรี |
ในกรณีที่เป็นเจ้านายสตรีเช่นพระนางจามเทวี
ถ้าพระนางจะทรงคล้องผ้า ก็ต้องเป็นผ้าชนิดดีที่สุดเท่าที่จะหาได้ในหริภุญไชยนคร
และเป็นไปได้มากด้วยครับ ว่าจะเป็นผ้าที่สั่งซื้อมาจากต่างประเทศ
แต่ก็จนใจอีกที่เราไม่อาจจะหาหลักฐานได้ว่าเป็นผ้าชนิดใด มีลวดลายหรือลักษณะอย่างไร
แต่ก็มีความเป็นไปได้เช่นกันนะครับ
ว่าถ้าเป็นการเสด็จออกพระราชพิธี หรือพิธีกรรมสำคัญๆ
พระนางอาจจะทรงมีเครื่องประดับพระอุระที่ทำด้วยทองคำ ประเภทที่เรียกว่า “ก่องนม” หรือ “ฉลองนม”
ที่หลายท่านคงจดจำกันได้ จากภาพของพระมหาเทวีจิรประภา ในภาพยนตร์แห่งสยามประเทศเรื่อง “สุริโยไท” ของ ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล
ที่หลายท่านคงจดจำกันได้ จากภาพของพระมหาเทวีจิรประภา ในภาพยนตร์แห่งสยามประเทศเรื่อง “สุริโยไท” ของ ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล
ภาพลายเส้น เจ้านายฝ่ายเหนือยุคพระมหาเทวีจิรประภา สวมฉลองนม |
ก่องนมเป็นเครื่องประดับโบราณมากครับ มีทั้งแบบโปร่งอย่างในภาพยนตร์ดังกล่าว และแบบทึบ มีใช้กันทั่วไปในตะวันออกกลาง อินเดีย โดยเฉพาะอินเดียใต้ นิยมใช้เป็นเครื่องประดับในองค์เทวรูปเทวสตรีต่างๆ อย่างแพร่หลาย
พระนางจามเทวีทรงเป็นราชนารีแห่งกรุงลวปุระ
บ้านเกิดเมืองนอนของพระนางมีความสัมพันธ์กับแคว้นต่างๆ ในภาคใต้ของไทย
ซึ่งก็ติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับภูมิภาคอินเดียใต้มาตั้งแต่โบราณ
ก็นับว่ามีความเป็นไปได้อย่างที่กล่าวแล้วครับ ว่าพระนางจะทรงใช้เครื่องประดับพระวรกายเช่นนี้ด้วย
เครื่องถนิมพิมพาภรณ์อย่างอื่นที่ต้องทรงมีแน่นอนก็คือ
กรองศอ ทำด้วยทองคำประดับอัญมณี ซึ่งดูเผินๆ จะเป็นแผ่นแบนยาวลงจรดกลางพระอุระ
พระนางอาจจะทรงคาดเข็มขัดใต้พระอุระที่ทำด้วยทองคำประดับพลอย หรือที่เรียกกันว่า
อุทรพันธะ อีกด้วย
อุทรพันธะนี้นิยมกันมาจากอินเดียครับ
ภาพปูนปั้นสตรีทวารวดีภาพหนึ่งที่พบที่ จ.นครปฐม ก็สวมอุทรพันธะที่ว่านี้
ภาพปูนปั้นสตรีชั้นสูงสมัยทวารวดี คาดอุทรพันธะ พบที่เจดีย์จุลปะโทน นครปฐม |
ส่วนเครื่องประดับพระกรนั้น
ก็คงจะมีทั้งพาหุรัดและทองกร ซึ่งมักจะมีลวดลายเป็นช่อดอกไม้
เครื่องถนิมพิมพาภรณ์อีกอย่างคือพระธำมรงค์ น่าจะทำด้วยทองคำและมีหัวแหวนเป็นอัญมณีต่างๆ
ดังนั้น
ฉลองพระองค์ที่เป็นผ้าอย่างแท้จริงของพระนางก็คือพระภูษาทรง หรือผ้านุ่ง
เราเห็นจากประติมากรรมสมัยทวารวดีว่า
บรรดาเจ้านายสตรีมักจะทรงผ้านุ่งยาว จัดขอบชายพกที่พระโสณี และคาดเข็มขัดทับ
เข็มขัดนี้ทำด้วยทองคำประดับพลอยและอัญมณีต่างๆ หรือทำอุบะห้อยเป็นแนวก็มี
บางทีก็ใช้เชือกผูกรัดเป็นปมไว้ด้านหน้า
ชิ้นส่วนลายปูนปั้นรูปสตรีสมัยทวารวดี นุ่งผ้าเอวต่ำ มีจีบด้านหน้า อายุราวๆ พุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๔ พบที่เมืองโบราณอู่ทอง จ.สุพรรณบุรี |
พระภูษานั้น จะทรงใช้ผ้าทอเป็นลวดลายอย่างใด สีสันอย่างใด ก็สุดที่จะสืบค้นได้เช่นกันครับ เพราะไม่มีตัวอย่างลายผ้าไว้ในประติมากรรมต่างๆ สมัยเดียวกับพระนางเลย
เราคาดได้ว่า พระนางคงจะทรงมีวลัยบาท
หรือกำไลข้อเท้าด้วย โดยถ้าเป็นในเวลาปกติ ก็คงจะทรงสวมแบบที่เป็นห่วงทองคำ เงิน
หรือสำริดแบบเรียบๆ เท่านั้น
เมื่อทรงออกงานพิธีจึงจะเป็นแบบที่มีลวดลายสวยงาม
ที่เห็นนี้ คือ พระโพธิสัตว์ตารา (Tara) แห่ง บุโรพุทโธ (Borobudur) อินโดนีเซีย เป็นศิลปะชวาภาคกลาง มีอายุในราวๆ พุทธศตวรรษที่ ๑๓
เพราะศิราภรณ์ เครื่องถนิมพิมพาภรณ์
และฉลองพระองค์ ของเทวรูปในยุคโบราณ มักจะเป็นแบบเดียวกับที่กษัตริย์
และราชนารีในยุคเดียวกันนั้นทรงสวมใส่ แบบเต็มยศครับ
ทั้งหมดที่ผมบรรยายมานี้ หลายท่านอาจนึกไม่ออก
ว่าเมื่อนำมาปะติดปะต่อกันแล้วจะเป็นอย่างไร
ผมก็คิดว่า ภาพต่อไปนี้ อาจจะพอทำให้จินตนาการได้อย่างคร่าวๆ ครับ
ผมก็คิดว่า ภาพต่อไปนี้ อาจจะพอทำให้จินตนาการได้อย่างคร่าวๆ ครับ
ที่เห็นนี้ คือ พระโพธิสัตว์ตารา (Tara) แห่ง บุโรพุทโธ (Borobudur) อินโดนีเซีย เป็นศิลปะชวาภาคกลาง มีอายุในราวๆ พุทธศตวรรษที่ ๑๓
พระโพธิสัตว์ตารา ที่ บุโรพุทโธ อินโดนีเซีย |
ร่วมสมัยกับศิลปะศรีวิชัย
ในภาคใต้ของประเทศไทย และใกล้เคียง หรือ---อาจจะเกือบเป็นยุคเดียวกับรัชสมัยของพระนางจามเทวี
ไศเลนทร์วงศ์ ของชวา
ผู้สร้างมหาสถูปแห่งนี้ ก็มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ จันทรวงศ์ แหง ครหิ
หรือ ไชยา อันเป็นราชวงซ์ของเจ้าชายรามราช พระภัสดาของพระนางจามเทวี
จึงเป็นไปได้นะครับ ว่า แบบอย่างฉลองพระองค์จริงๆ
ของพระนางจามเทวี อาจจะคล้ายกับในภาพนี้ในหลายๆ ส่วน
ดังนั้น แบบอย่างฉลองพระองค์ที่ปรากฏบนพระรูป
ณ พระราชานุสาวรีย์ซึ่ง อ.สุภร ศิระสงเคราะห์ ได้ออกแบบขึ้นในสมัยปัจจุบัน
จึงมีหลายส่วน ที่น่าจะใกล้เคียงกับความเป็นจริงอยู่บ้างเหมือนกันละครับ
ภาพจาก http://www.nmt.or.th |
เพียงแต่ด้วยปัจจัยแวดล้อมหลายๆ อย่าง
บางสิ่งที่รู้กันอยู่แล้วว่าของจริงเป็นอย่างไร
ผู้ออกแบบก็ไม่อาจนำมาใช้กับพระรูปได้ เช่นการเปลือยท่อนบน เป็นต้น
แต่ อ.สุภรก็พยายามแสดงให้เห็นเช่นกันว่า
ได้พยายามออกแบบพระรูปนี้ โดยเคารพต่อข้อเท็จจริงดังกล่าว
ในขณะเดียวกับที่ท่านประนีประนอม ต่อผู้ซึ่งอาจเห็นตรงกันข้าม ด้วยการเพิ่มขอบแขนเสื้อเข้าไปเหนือพาหุรัด กับสาบเสื้อที่ผ่ากลางโดยตลอด ทำให้แลดูเหมือนว่า ทรงฉลองพระองค์อย่างเบาบาง และเข้ารูป
ในขณะเดียวกับที่ท่านประนีประนอม ต่อผู้ซึ่งอาจเห็นตรงกันข้าม ด้วยการเพิ่มขอบแขนเสื้อเข้าไปเหนือพาหุรัด กับสาบเสื้อที่ผ่ากลางโดยตลอด ทำให้แลดูเหมือนว่า ทรงฉลองพระองค์อย่างเบาบาง และเข้ารูป
เพียงเท่านี้ ก็สามารถปิดปากบรรดานักวิจารณ์
ซึ่งหวาดกลัวการที่จะเห็นเทวรูปเปลือยอก ยิ่งกว่าจะพึงตระหนักรู้ว่า
การซื่อสัตย์กับความเป็นจริงของยุคสมัยหนึ่ง ซึ่งมีวัฒนธรรมที่แตกต่างออกไปนั้น
จะเป็นประโยชน์อันมหาศาลเพียงใดในภายภาคหน้า
การซื่อสัตย์กับความเป็นจริงทางวัฒนธรรม
และโบราณคดีนั้น อย่างน้อยที่สุด
ก็จะทำให้คนรุ่นลูกรุ่นหลานของเรา เติบโตขึ้นมาอย่างรู้แจ้งเห็นจริงในรากเหง้าความเป็นมาของตนเอง
โดยไม่ถูกบดบังด้วยอคติ หรือทิฐิส่วนบุคคลของใครคนใดคนหนึ่ง
ดังที่เป็นกันอยู่ในยุคสมัยของเราขณะนี้นะครับ
ความจริง ถ้า อ.สุภรจะเฉลียวใจว่า
ในยุคของพระนางจามเทวี จะมีการใช้ก่องนมกันแล้ว
ท่านก็อาจจะออกแบบพระรูปนี้ได้ง่ายขึ้น โดยไม่ต้องเสี่ยงกับการวิพากษ์วิจารณ์มากนัก
แต่เรื่องนี้คงยังไม่มีใครคิดถึงในพ.ศ.๒๕๒๔ ที่มีการออกแบบพระรูปหรอกครับ เพราะผมเองยังเพิ่งมาคิดได้หลังจากตีพิมพ์ จอมนางหริภุญไชย ไปถึง ๕ ครั้งแล้วด้วยซ้ำ
แต่เรื่องนี้คงยังไม่มีใครคิดถึงในพ.ศ.๒๕๒๔ ที่มีการออกแบบพระรูปหรอกครับ เพราะผมเองยังเพิ่งมาคิดได้หลังจากตีพิมพ์ จอมนางหริภุญไชย ไปถึง ๕ ครั้งแล้วด้วยซ้ำ
แต่อย่างน้อย การปิดปากบรรดานักวิจารณ์เช่นนี้
ก็ทำได้อย่างแนบเนียนจนไม่มีใครสงสัยว่า เสื้อแขนสั้นผ่ากลางที่ตัดเข้ารูป
และเก็บชายไว้ในผ้านุ่งเช่นนั้น มีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใดเมื่อ ๑,๓๐๐ ปีก่อน
เพราะมันเป็นไปไม่ได้ครับ
ในสมัยนั้น ไม่มีเทคนิคการตัดเสื้อให้เป็นไปตามรูปแบบที่ว่านี้ได้เป็นอันขาด
แต่ถึงอย่างไร ผู้ที่มีพื้นฐานทางศิลปะเพียงพอ
ก็ย่อมสังเกตได้ว่า อ.สุภรมิได้พยายามปิดบังความจริงในเรื่องนี้อย่างเต็มที่เท่าใดนัก
เพราะเหตุว่า ถ้าเพียงแต่ลบส่วนที่เป็นขอบแขนเสื้อ กับสาบเสื้อ (ซึ่งทบเข้ากันได้โดยไม่มีกระดุม?) ออกไปเสีย ก็มองเห็นได้อย่างชัดเจนเลยละครับว่า พระรูปนี้ฉลองพระองค์ตรงตามแบบแผนประเพณีนิยมของสตรีชั้นสูงสมัยทวารวดีแทบทุกประการ
เพราะเหตุว่า ถ้าเพียงแต่ลบส่วนที่เป็นขอบแขนเสื้อ กับสาบเสื้อ (ซึ่งทบเข้ากันได้โดยไม่มีกระดุม?) ออกไปเสีย ก็มองเห็นได้อย่างชัดเจนเลยละครับว่า พระรูปนี้ฉลองพระองค์ตรงตามแบบแผนประเพณีนิยมของสตรีชั้นสูงสมัยทวารวดีแทบทุกประการ
และเป็นการแต่งกายที่งามสง่า
จนไม่อาจปฏิเสธได้เลยทีเดียวละครับ
หากใครที่คาดหวังว่า
จะได้เห็นฉลองพระองค์อันงดงามนี้แบบเดิมๆ เต็มๆ
เมื่อไปสักการบูชาพระองค์ท่านที่พระราชานุสาวรีย์ ก็อาจจะต้องผิดหวัง
เพราะมักจะมีคนเอาผ้าสไบหลากสี และเต็มไปด้วยความฉูดฉาด ขึ้นไปห่มองค์ท่านจนมิดอยู่เสมอๆ
บรรดาผ้าเหล่านี้
ซึ่งควรจะใช้กับลิเกมากกว่าพระรูปนั้น ไม่ต้องไปหาจากไหน มีเตรียมไว้ให้ในร้านที่ขายดอกไม้ธูปเทียน และวัตถุมงคลข้างพระราชานุสาวรีย์นั่นเอง
ความเชื่องมงายเช่นนี้
เกิดขึ้นกับพระรูปพระนางจามเทวีแทบทุกหนแห่ง ไม่ว่าในจังหวัดลำพูน
หรือจังหวัดอื่นๆ ด้วย
โดยเฉพาะที่ผมเห็นมาล่าสุด คือ
พระรูปที่บ่อน้ำเลี้ยง จ.ลำปาง ซึ่งก็เป็นพระรูปที่งามพอสมควรองค์หนึ่ง
ปรากฏว่ามีผู้ไปถ่ายภาพมา แล้วเห็นชัดว่า มีการถวายฉลองพระองค์ทั้งเสื้อและผ้านุ่ง
อันพูดได้ว่าเป็นผ้าตัดเย็บอย่างเลว ชนิดที่เอาไว้ถวายพวกผีเจ้าแม่นางไม้
นางตะเคียน หรือพวกโหงพรายต่างๆ เท่านั้นครับ
ซึ่งผมจำเป็นต้องกล่าวไว้ ณ ที่นี้ว่า เป็นเรื่องน่าสังเวชใจอย่างที่สุด
ซึ่งผมจำเป็นต้องกล่าวไว้ ณ ที่นี้ว่า เป็นเรื่องน่าสังเวชใจอย่างที่สุด
เครดิตภาพ : Somsong Nokyu จาก G Plus |
อันที่จริง ไม่เฉพาะแต่คนไทยเราเท่านั้น
ทั้งคนอินเดีย และชนชาติต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด
มีประเพณีถวายผ้าห่มรูปเคารพกันมาแต่โบราณ ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธรูป หรือเทวรูป
นั่นคือความจริงที่ไม่มีใครปฏิเสธครับ
แต่ในหลักความจริงเดียวกันนั้น ก็มีเงื่อนไขอยู่ว่า
การถวายผ้าห่มรูปเคารพต่างๆ นั้น เขาถวายกันเพียงปีละครั้ง
หรืออย่างถี่ที่สุดก็ถวายกันตามฤดูกาล
เช่นกรณีของพระแก้วมรกต
เช่นกรณีของพระแก้วมรกต
และผ้าที่ถวายเป็นฉลองพระองค์
หรือผ้าทรงของเทวรูปนั้น คนโบราณไม่ว่าชาติใด รวมทั้งคนไทยเราแต่โบราณด้วย
ยึดถือกันว่า ต้องเป็นผ้าดีที่สุดเท่าที่จะหาได้
ถ้าเป็นผ้าทอ ก็ถักทอกันอย่างประณีตเช่นผ้าที่ถวายกษัตริย์หรือเจ้านาย ถ้าเป็นผ้าปัก ก็ปักกันด้วยเทคนิคที่ซับซ้อนพิถีพิถันที่สุดเท่าที่มีอยู่
ถ้าเป็นผ้าทอ ก็ถักทอกันอย่างประณีตเช่นผ้าที่ถวายกษัตริย์หรือเจ้านาย ถ้าเป็นผ้าปัก ก็ปักกันด้วยเทคนิคที่ซับซ้อนพิถีพิถันที่สุดเท่าที่มีอยู่
ในสมัยโบราณ ไม่มีใครเอาผ้าชั้นเลว
สีสันฉูดฉาดมาถวายรูปเคารพ อย่างที่คนสมัยเราทำอยู่
เพราะเขาถือกันนักหนาว่า ถ้าถวายผ้าชั้นเลวอย่างนั้นแก่สิ่งศักดิ์สิทธิ์
ถือว่าดูถูกท่าน ไม่ให้เกียรติท่าน
และการที่จะถวาย
ก็ต้องดูอีกว่าเดิมเขาทำมาอย่างไร
นั่นคือ โดยปกติ ถ้ารูปเคารพนั้นมีเครื่องทรงสลักเสลามาอย่างละเอียดลอออยู่แล้ว เขาก็ไม่นิยมถวายฉลองพระองค์ หรือเครื่องประดับเพิ่มเข้าไปหรอกครับ
นั่นคือ โดยปกติ ถ้ารูปเคารพนั้นมีเครื่องทรงสลักเสลามาอย่างละเอียดลอออยู่แล้ว เขาก็ไม่นิยมถวายฉลองพระองค์ หรือเครื่องประดับเพิ่มเข้าไปหรอกครับ
เขานิยมถวายผ้าและเครื่องประดับ เฉพาะกับรูปเคารพที่สร้างมาเพื่อจะรับการถวายสิ่งเหล่านั้นโดยตรง
คือทำมาเป็นรูปเคารพเปล่าๆ ไม่มีเครื่องทรง ไม่ประดับตกแต่งอะไรเลย
ตัวอย่างก็คือ เทวรูปหินทรายในศิลปะเขมร
ไงครับ
เทวสตรี หินทราย ศิลปะเขมรโบราณ เป็นเทวรูปชนิดที่ทำไว้สำหรับถวายฉลองพระองค์ และเครื่องประดับ |
ซึ่งเราจะเห็นชัดว่า ส่วนมากทำมาแต่องค์เปล่าๆ
ศิราภรณ์ก็มีลวดลายแต่พอคร่าวๆ เครื่องประดับอื่นเช่น กรองศอ พาหุรัด ทองกร วลัยบาท ไม่ปรากฏ แม้แต่ผ้าทรง ก็ทำแค่พอเป็นโครงร่างไว้เท่านั้น
เทวรูปเหล่านี้ละครับ พอถึงเวลาที่บูชาจริง
เขาจะมีผ้าจริงมาสวมทับเข้าไป ใส่เครื่องประดับจริงๆ เข้าไป ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องแกะสลักลวดลายเครื่องประดับไว้บนเทวรูป
ที่สำคัญที่สุด เหตุผลในการถวายฉลองพระองค์ และเครื่องประดับแก่รูปเคารพนั้น
ยังเป็นเพราะจุดประสงค์ที่ว่า ฉลองพระองค์และเครื่องถนิมพิมพาภรณ์เป็นสื่อของพลังแห่งความร่ำรวย
ความอุดมสมบูรณ์ อยู่ดีกินดี
เพราะฉะนั้น จึงต้องถวายของดีที่สุด โดยผู้ถวายส่วนมากจะเป็นกษัตริย์
หรือเจ้าเมือง ซึ่งกระทำในฐานะตัวแทนของประชาชนทั้งหมด และถวายกันเฉพาะโอกาสสำคัญ
ปีละครั้งหรือตามฤดูกาลเท่านั้น ไม่ใช่ถอดเข้าถอดออกเปลี่ยนใหม่กันทุกวัน
เพราะนั่นเป็นการรบกวนรูปเคารพ
และถ้ารูปเคารพใดถูกรบกวนมากเกินไป รูปเคารพนั้นก็จะเสื่อมไปในที่สุดครับ
ที่กล่าวไปแล้ว คือธรรมเนียมโบราณ ที่พวกดราส่วนมากมิได้คำนึงถึง
อีกสิ่งหนึ่ง ที่พวกเราไม่คำนึงถึงกันก็คือ เราจำเป็นจะต้องแยกให้ออกว่า พระนางจามเทวีนั้น พระองค์ท่านทรงเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ชั้นสูงเหนือกว่าผี โดยเฉพาะบรรดาผีเจ้าแม่นางไม้นางตะเคียนต่างๆ
อีกสิ่งหนึ่ง ที่พวกเราไม่คำนึงถึงกันก็คือ เราจำเป็นจะต้องแยกให้ออกว่า พระนางจามเทวีนั้น พระองค์ท่านทรงเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ชั้นสูงเหนือกว่าผี โดยเฉพาะบรรดาผีเจ้าแม่นางไม้นางตะเคียนต่างๆ
ผีเหล่านั้น มักพอใจกับการบนบานศาลกล่าว
และการถวายผ้าทรงเครื่องประดับลิเก
ในขณะที่องค์พระนางจามเทวีนั้น ไม่ทรงมีความจำเป็น และไม่ต้องการอามิสใดๆ พระองค์จะทรงให้เฉพาะในสิ่งที่ควรให้ ด้วยความเมตตาที่เราไปขอความช่วยเหลือ ไม่ใช่ว่าทรงให้เพราะเห็นแก่อามิสที่เราสัญญาว่าจะตอบแทน
ในขณะที่องค์พระนางจามเทวีนั้น ไม่ทรงมีความจำเป็น และไม่ต้องการอามิสใดๆ พระองค์จะทรงให้เฉพาะในสิ่งที่ควรให้ ด้วยความเมตตาที่เราไปขอความช่วยเหลือ ไม่ใช่ว่าทรงให้เพราะเห็นแก่อามิสที่เราสัญญาว่าจะตอบแทน
สิ่งที่เราอธิษฐานขอจากท่าน
ถ้าเราไม่สมควรได้ ท่านก็จะไม่ประทานให้ตามคำขอของเรา ป่วยการที่จะเอาอะไรไปแลกครับ
ซึ่งอย่าว่าแต่ฉลองพระองค์กำมะลอ
เหมือนเครื่องแต่งตัวลิเก
ต่อให้เป็นทองหยองเพชรพลอยเลอค่าแค่ไหน ก็ไม่อยู่ในสายพระเนตร สิ่งที่จะทำให้พระองค์ท่านสนพระทัย
มีเพียงความดีและความบริสุทธ์ใจของเราเท่านั้นแหละครับ
ความนิยมถวายฉลองพระองค์
ถวายผ้าห่มพระรูปพระนางจามเทวี ทั้งที่ลำพูน
และพระราชานุสาวรีย์ทุกหนแห่งในเมืองไทย แท้ที่จริงจึงเป็นเรื่องเสียเวลาเปล่า
ไร้ประโยชน์ในการบูชา อีกทั้งยังปิดบังความงามทางศิลปกรรมของพระรูป และทำให้ “พลัง” ในพระรูปนั้นถดถอยลง เพราะถูกรบกวนมากเกินไป
นอกจากนั้นยังทำให้เกิดความเสียหายด้วย
อย่างพระราชานุสาวรีย์ที่ลำพูน
ซึ่งเป็นเหยื่อของลัทธิถวายผ้าทรงมานาน
ทำให้คนในร้านค้าบริเวณนั้นต้องปีนขึ้นปีนลงพระราชานุสาวรีย์กันทุกวัน
เป็นภาพอันชวนสลดสังเวช และในที่สุดทำให้เกิดรอยร้าวขึ้นที่พระราชานุสาวรีย์
ซึ่งไม่ได้สร้างไว้สำหรับให้ใครมาปีนป่าย
จนเทศบาลเมืองลำพูนต้องเข้าไปบูรณะ และประกาศห้ามการถวายผ้าทรงแด่พระรูป พระราชานุสาวรีย์จึงรอดพ้นภยันตรายมาได้ แต่ภายหลังพอทางเทศบาลไม่ไปเข้มงวดกวดขัน ก็มีการเพียรพยายามถวายผ้าทรงกันอีกบ่อยๆ
จนเทศบาลเมืองลำพูนต้องเข้าไปบูรณะ และประกาศห้ามการถวายผ้าทรงแด่พระรูป พระราชานุสาวรีย์จึงรอดพ้นภยันตรายมาได้ แต่ภายหลังพอทางเทศบาลไม่ไปเข้มงวดกวดขัน ก็มีการเพียรพยายามถวายผ้าทรงกันอีกบ่อยๆ
จึงควรที่เราทั้งหลายจะช่วยกันรณรงค์
ให้แพร่ขยายเป็นที่รับรู้กันในหมู่ผู้บูชา
และผู้ศรัทธาพระนางจามเทวีมากเท่าที่จะมากได้ว่า...
เพื่อเห็นแก่ความศักดิ์สิทธิ์
และศิลปกรรมอันงดงามของพระรูปพระนางจามเทวี ที่ช่างชั้นครูได้ฝากฝีมือไว้
และเพื่อเห็นแก่แบบแผนธรรมเนียมโบราณ ซึ่งไม่ควรจะถูกทำลายด้วยความเข้าใจผิดและรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของคนรุ่นเรา
ขอให้ช่วยกันงดถวายฉลองพระองค์ และผ้าทรงแก่พระรูปดังกล่าว และช่วยกันคัดค้านการกระทำเช่นนั้นทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะในจังหวัดใดทั้งสิ้นครับ
และเพื่อเห็นแก่แบบแผนธรรมเนียมโบราณ ซึ่งไม่ควรจะถูกทำลายด้วยความเข้าใจผิดและรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของคนรุ่นเรา
ขอให้ช่วยกันงดถวายฉลองพระองค์ และผ้าทรงแก่พระรูปดังกล่าว และช่วยกันคัดค้านการกระทำเช่นนั้นทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะในจังหวัดใดทั้งสิ้นครับ
พระราชานุสาวรีย์ ที่วัดสามเงา จ.ตาก ฝีมือปั้นหล่อดีเกือบเท่าที่ลำพูน แต่ถูกห่มผ้าจนมิดองค์ |
จะช่วยกันกระตุ้นเตือนไปยังเทศบาล
หรือหน่วยงานใดที่เป็นผู้ดูแลพระเทวรูปดังกล่าวก็ได้
ต้องไม่อนุญาตให้ใครก็ตามปีนป่ายขึ้นไปบนพระราชานุสาวรีย์
หรือแท่นฐานที่ตั้งพระรูป เพื่อถวายผ้าทรงดังกล่าวอีก
จะสำเร็จหรือไม่สำเร็จ
ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราได้พยายามกันมากน้อยเพียงใดนะครับ
แต่ถ้าพยายามกันมาก ผลที่ได้ อย่างน้อยก็คือทำให้องค์พระแม่กลับมาศักดิ์สิทธิ์ขึ้น
เพราะเมื่อพระรูปไม่ถูกรบกวน ด้วยการปีนขึ้นปีนลงรายวันอีกต่อไป องค์พระแม่เจ้าจามเทวีจะได้สำแดงพระบารมีผ่านพระรูปนั้น ปกปักรักษาผู้บูชา และบ้านเมืองที่ประดิษฐานพระรูปของพระองค์ ให้อยู่เย็นเป็นสุข
เพราะเมื่อพระรูปไม่ถูกรบกวน ด้วยการปีนขึ้นปีนลงรายวันอีกต่อไป องค์พระแม่เจ้าจามเทวีจะได้สำแดงพระบารมีผ่านพระรูปนั้น ปกปักรักษาผู้บูชา และบ้านเมืองที่ประดิษฐานพระรูปของพระองค์ ให้อยู่เย็นเป็นสุข
ถ้าเราไม่บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามที่ถูกที่ควร
แล้วเราจะเรียกร้องให้ท่านเมตตาช่วยเหลือเรา หรือบ้านเมืองของเรา
ให้เป็นไปในลักษณาการที่ถูกที่ควรได้อย่างไร เป็นสิ่งที่ควรคิดกันให้มากๆ ครับ
………………………
หมายเหตุ :
เนื้อหาในบทความนี้ มีลิขสิทธิ์ ใครจะนำไปใช้อ้างอิงที่ใด ไม่ว่าส่วนใดส่วนหนึ่ง
หรือทั้งหมด จะต้องระบุ URL ของแต่ละบทความด้วย
และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าโดยเด็ดขาด
พระรูปที่บ่อน้ำเลี้ยง มีผ้าถวายตลอดครับ ผมไปแต่ละทีไม่เคยเห็นพระรูปเต็มๆ องค์เลย
ReplyDeleteบางทีถวายผ้ากันแบบน่าเกลียดมากด้วยครับ เหมือนผ้าที่เอาไว้ถวายพวกเจ้าแม่ นางตะเคียน อะไรจำพวกนั้น
Deleteเห็นพระรูปที่บ่อน้ำเลี้ยงแล้ว น่าอนาถใจเหลือเกินค่ะ ทำกันไปได้ยังไง
ReplyDeleteต้องทำใจครับ ไม่ใช่ของของเรา
Deleteทำไมถึงชอบเอาผ้าไปห่มให้ท่านนะไม่เห็นจะสวยเลย คิดว่าท่านรสนิยมเหมือนตัวเองเหรอ ถ้ารสนิยมท่านมีแค่นั้นท่านสร้างบ้านสร้างเมืองได้เหรอ
ReplyDeleteคนเอาผ้าไปห่ม เขาไม่่คิดอะไรอย่างนั้นหรอกครับ ถ้าเป็นคนที่มีความคิด เขาคงไม่เอาผ้าไปห่ม
Deleteคนไทยหนอคนไทย ของดีๆ สวยๆ งามๆ ทนดูไม่ได้ ต้องเอาผ้าไปห่มไปปิดไว้ซะงั้น
ReplyDeleteเป็นพวกเห็นแก่ตัวน่ะครับ คือ คิดว่าทำอย่างนั้นแล้วท่านจะโปรดฯ เลยฟูมฟายกับการเอาผ้าไปห่มให้ท่าน ไม่สนใจว่าคนอื่นเขาจะได้ชมบารมีท่านแบบเต็มๆ องค์หรือไม่
Delete