ภาพจาก http://dooasia.com |
จากหลักฐานทางโบราณคดี ที่พบใน จ.ลพบุรี หรือกรุงลวปุระในอดีต และที่พบในนครโบราณอื่นๆ เท่าที่กำหนดอายุได้ว่า ใกล้เคียงกับยุคสมัยของพระนางจามเทวี ล้วนแสดงว่า
ในราชสำนักแห่งกรุงละโว้ และนครรัฐต่างๆ ในเวลานั้น นอกจากพระภิกษุแล้ว ยังมีบรรดาผู้มีความรู้ทางวัฒนธรรมชั้นสูงของอินเดีย เช่นพราหมณ์ โยคี และพระฤาษีเข้ามาพำนัก ทำหน้าที่ถวายความรู้ทางศาสนาและหลักการปกครอง ตลอดจนศิลปวัฒนธรรมต่างๆ แด่กษัตริย์และบรรดาเจ้าชายเจ้าหญิงอยู่ไม่น้อย
ดังที่ในนิทานโบราณ ตำนานพื้นเมืองของไทย
รวมทั้งตำนานพระนางจามเทวีฉบับวัดสามเงาตกเรียกว่า ปุโรหิต นั่นเอง
และพระฤาษีองค์หนึ่ง ที่เป็นนักพรตคู่บารมีแห่งพระนางจามเทวี ในก่อรากอารยธรรมหริภุญไชย อันเป็นรากฐานที่มาของอารยธรรมทั้งปวงในแผ่นดินล้านนา ก็คือ ท่านสุเทวฤาษี
นักพรตท่านนี้ เป็นที่รู้จักและนับถือบูชากันทั่วไปในภาคเหนือของไทย นับแต่อดีตกาลจนกระทั่งทุกวันนี้ โดยเฉพาะที่เชียงใหม่ จะเห็นคติการบูชาท่านชัดเจน เพราะในตำนานกล่าวว่า ท่านเป็นฤาษีที่พำนักอยู่ ณ ดอยสุเทพ ซึ่งเป็นยอดเขาศักดิ์สิทธิ์ประจำนครเชียงใหม่
แต่แท้ที่จริงแล้ว ท่านสุเทวฤาษีท่านนี้เป็นใครกันแน่?
และพระฤาษีองค์หนึ่ง ที่เป็นนักพรตคู่บารมีแห่งพระนางจามเทวี ในก่อรากอารยธรรมหริภุญไชย อันเป็นรากฐานที่มาของอารยธรรมทั้งปวงในแผ่นดินล้านนา ก็คือ ท่านสุเทวฤาษี
นักพรตท่านนี้ เป็นที่รู้จักและนับถือบูชากันทั่วไปในภาคเหนือของไทย นับแต่อดีตกาลจนกระทั่งทุกวันนี้ โดยเฉพาะที่เชียงใหม่ จะเห็นคติการบูชาท่านชัดเจน เพราะในตำนานกล่าวว่า ท่านเป็นฤาษีที่พำนักอยู่ ณ ดอยสุเทพ ซึ่งเป็นยอดเขาศักดิ์สิทธิ์ประจำนครเชียงใหม่
แต่แท้ที่จริงแล้ว ท่านสุเทวฤาษีท่านนี้เป็นใครกันแน่?
การที่เราจะสันนิษฐาน ถึงที่มาที่ไปของนักพรตท่านนี้ ก่อนอื่น เราจะต้องเข้าใจว่า ฤาษี (Rishi)
ไม่ใช่แบบอย่างของนักพรตที่มีอยู่เฉพาะในนิยายเท่านั้น แต่มีอยู่จริงในประเทศอินเดียแม้จนปัจจุบันครับ
และการที่ใครคนหนึ่งในสมัยทวารวดีตอนต้น จะถูกเรียกว่า ฤาษี ได้
แสดงว่าเขาผู้นั้นต้องบวชเป็นฤาษีแบบอินเดียจริงๆ ไม่ใช่ฤาษีแบบที่ชาวล้านนายุคหลังตีความว่า
เป็นผู้เคยบวชเรียนในศาสนาพุทธมาก่อน แล้วสึกออกมาครองเพศเป็นฤาษี
ฤาษีประเภทหลังนี้ แม้จะมีอยู่จริงในวัฒนธรรมล้านนา
แต่นั่นก็คงเป็นเพราะ ชาวล้านนาได้รับคติเกี่ยวแก่ฤาษีประเภทนี้จากพม่าในยุคหลัง
ที่สำคัญก็คือ นอกจากตำนานพระเจ้าเลียบโลก ซึ่งเป็นเรื่องของความเชื่อล้วนๆ
แล้ว เราต้องระลึกกันอยู่เสมอว่า เรายังไม่เคยพบหลักฐานทางโบราณคดีที่อ้างถึงพระพุทธศาสนาในภาคเหนือของไทย
ก่อนที่พระนางจามเทวีจะเสด็จขึ้นไปลำพูนนะครับ
เมื่อไม่เคยมีศาสนาพุทธอยู่ที่นั่นมาก่อน แล้วท่านสุเทวฤาษีจะบวชเรียนจากที่ใด ก่อนที่ท่านจะสึกมาเป็นฤาษีตามความเชื่อของคนพื้นเมืองล่ะครับ?
ดังนั้นจึงเป็นไปได้หรือไม่ว่า ท่านสุเทวฤาษีจะเป็นนักบวชชาวอินเดีย ที่เดินทางผ่านพม่าเข้ามาทางภาคเหนือของไทย
แวะพำนักอยู่กับชนพื้นเมืองที่นั่นชั่วระยะเวลาหนึ่ง จนทำให้มีตำนานหลายฉบับกล่าวว่าท่านบำเพ็ญพรตอยู่ที่ดอยสุเทพ
และกล่าวถึงการที่ท่านสร้างเมือง หรือจะพูดให้ถูก คือพยายามวางรากฐานของสังคมระดับเมืองให้แก่ชนเผ่าที่นั่น?
และกล่าวถึงการที่ท่านสร้างเมือง หรือจะพูดให้ถูก คือพยายามวางรากฐานของสังคมระดับเมืองให้แก่ชนเผ่าที่นั่น?
ศาลพระสุเทวฤาษี วัดพระธาตุดอยคำ เชียงใหม่ ภาพจาก http://www.naiboran.com |
เมื่และคอยรับภารกิจสืบด่อ จาก ท่านสุกกทันตฤาษี สหายของท่า ในการับเสด็จพระนางจามเทวี จากราสำนักละโว้ไปยังเมืองลำพูน
(แนวคิดนี้เป็นแนวคิดใหม่ ผมไม่ได้เขยนไว้ใน จอมนางหริภุญไชย แตจะ updte เป็นบทความ ว่าด้วยเบื้องหลังการเสด็จจากละโว้ ของพระนางจามเทวี ใน blog นี้ครัย)
(แนวคิดนี้เป็นแนวคิดใหม่ ผมไม่ได้เขยนไว้ใน จอมนางหริภุญไชย แตจะ updte เป็นบทความ ว่าด้วยเบื้องหลังการเสด็จจากละโว้ ของพระนางจามเทวี ใน blog นี้ครัย)
หลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่า ในระยะแรกแห่งการขึ้นครองราชย์ และสร้างบ้านสร้างเมืองของพระนางจามเทวีนั้น ท่านสุเทวฤาษีน่าจะเป็นที่ปรึกษาคนสำคัญอยู่เบื้องหลังโดยตลอด ก็เช่น
พระจริยาวัตรของพระนางจามเทวี ในลักษณะของธรรมราชา ด้วยการสร้างวัดและอุปถัมภ์พุทธศาสนาอย่างมากมาย
ทั้งหมดนี้เป็นคุณสมบัติของ จักรพรรดิราช ตามแบบอินเดียอย่างชัดเจนครับ
และท่านสุเทวฤาษี ผู้มาจากอินเดีย ก็ย่อมแตกฉานในกลวิธีแห่งการเสริมสร้างพระบารมีในทิศทางเช่นนี้
เพราะจักรพรรดิราช คือฐานะอันศักดิ์สิทธิ์ ที่จะทำให้ไพร่บ้านพลเมืองเชื่อถือศรัทธา
เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการเมืองการปกครองในสมัยโบราณ โดยเฉพาะกับบ้านเมืองที่เพิ่งจะก่อร่างสร้างตัวขึ้นครับ
เมื่อถึงตอนนี้ก็อาจมีผู้สงสัยว่า ในเมื่อท่านสุเทวฤาษีควรเป็นฤาษีในศาสนาฮินดูมากกว่าปัญญาชนที่ผ่านการบวชเรียนในพุทธศาสนาแล้วลาสิกขาออกมา
(อันเป็นนิยามของฤาษีที่คนไทยเรารู้จักกันในชั้นหลังแล้ว) เหตุใดท่านจึงสนับสนุนพระนางจามเทวีในเรื่องของศาสนาพุทธยิ่งกว่าศาสนาฮินดู
เพราะไม่มีตำนานกล่าวถึงพระราชกรณียกิจใดๆ
ของพระนางจามเทวีที่เกี่ยวข้องกับศาสนาฮินดูเลย?
คำถามนี้ อาจจะตอบให้กระจ่างได้ยากนะครับ
แต่ก่อนอื่นเราควรพิจารณาว่า นักบวชรูปใดก็ตาม
ที่เดินทางจากประเทศอินเดียมาแสวงโชคในบ้านเมืองที่ห่างไกล ถึงภูมิภาคอุษาคเนย์ได้นั้น
ย่อมจะต้องเป็นผู้ที่รู้จักประนีประนอม ในเรื่องเกี่ยวกับลัทธิความเชื่ออยู่ระดับหนึ่ง
เพราะการที่จะยึดมั่นเอาแต่ลัทธิความเชื่อของตน
ในท่ามกลางคนท้องถิ่น ซึ่งนับถือในสิ่งที่แตกต่างออกไป โดยไม่มีการผ่อนปรน หรือดัดแปลงเสียบ้างนั้น
ย่อมจะเป็นไปได้ยากครับ ที่จะทำให้คนเหล่านั้นหันมาเชื่อฟัง หรือเปลี่ยนความเชื่อเดิมที่มีอยู่ได้
เช่นเดียวกัน ไม่ว่าท่านสุเทวฤาษีจะเป็นผู้ถือเคร่งในศาสนาฮินดูมากเพียงใด ท่านก็ต้องคำนึงถึงการที่จะคงบทบาทของตนไว้ได้ในราชสำนักที่เกิดขึ้นใหม่ ซึ่งมิใช่อินเดีย ไม่สนใจระบบวรรณะ แต่ยังคงต้องการผู้รู้ในแบบแผนธรรมเนียมของพราหมณ์ สำหรับการประกอบพิธีกรรมต่างๆ รวมทั้งการสร้างความมั่นคงแก่สถาบันกษัตริย์ตามแนวความคิดแบบฮินดู
ซึ่งได้รับความนิยมมากกว่าแบบพุทธ
ฤาษีตนใดที่จะได้รับการยอมรับนับถือจากชนชั้นสูง
ในอุษาคเนย์สมัยทวารวดีตอนต้น ย่อมจะต้องเป็นเอตะทัคคะ ในการผสมผสานคติความเชื่อ
และขนบประเพณีของทั้งสองศาสนา ให้อยู่ร่วมกันได้อย่างกลมกลืนสอดคล้องเสมอครับ
เพราะฉะนั้น เมื่อท่านต้องรับภาระ ในการที่จะต้องช่วยสถาปนาความมั่นคง ให้แก่ราชบัลลังก์ของพระนางจามเทวี ซึ่งเจริญพระชันษาขึ้นมาในราชสำนักที่นับถือศาสนาพุทธ แวดล้อมด้วยเหล่าเสนาข้าราชบริพารที่ส่วนมากนับถือศาสนาพุทธ ก็สมควรอยู่เอง ที่ท่านจะต้องให้ความสนับสนุนพระนางจามเทวีในฐานะของธรรมราชาแบบพุทธ
แต่ท่านสุเทวฤาษีมิได้ละทิ้งศาสนาฮินดูอย่างแน่นอนครับ
ด้วยว่า ผังนครหริภุญไชยซึ่งเป็นรูปหอยสังข์นั้นเอง
คือข้อยืนยันอันไม่อาจปฏิเสธได้
ภาพจาก http://www.rustanyou.com |
เพราะในศาสนาพุทธ ไม่มีวิชาการวางผังเมืองให้เป็นรูปหอยสังข์
การคิดวางผังเมืองเป็นรูปหอยสังข์ เป็นวิธีคิดของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูครับ
การคิดวางผังเมืองเป็นรูปหอยสังข์ เป็นวิธีคิดของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูครับ
แล้วเหตุใด จึงต้องสร้างเมืองเป็นรูปหอยสังข์?
อ.วิธูร บัวแดง ผู้เชี่ยวชาญด้านรามัญศึกษากล่าวว่า
แผนผังเมืองหริภุญไชยเป็นรูปหอยสังข์ ซึ่งถือกันว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์
เป็นเทพอาวุธแห่งองค์พระนารายณ์
รูปหอยสังข์นี้ได้รับความนิยมมากในสมัยทวารวดี
จนถึงกับนำมาทำเป็นเหรียญเงินใช้กันในสมัยนั้นด้วยนะครับ นครรัฐทวารวดีอีกหลายแห่ง ก็มีการใช้ผังเมืองรูปหอยสังข์ลักษณะเดียวกับหริภุญไชย
ไม่ว่าจะเป็นนครปฐม แพร่ พุทไธสง และศรีสัชนาลัย เป็นต้น
ภาพจาก http://www.thaigoodview.com |
ผังของนครหริภุญไชย จึงเป็นการจำลองเทพอาวุธของพระนารายณ์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ และเป็นสิริมงคลอันสูงสุด
ตามคติไวษณพนิกายแห่งศาสนาฮินดู สิ่งเหล่านี้เท่ากับเป็นหลักประกันในทางมายาศาสตร์
ถึงความอุดมสมบูรณ์ ความกินดีอยู่ดี
และความเจริญรุ่งเรืองสำหรับพระนครแห่งใหม่นั่นเอง
ยิ่งไปกว่านั้น การจำลองรูปแบบของสังข์มาใช้ ยังน่าจะหมายถึงมายาศาสตร์ในการควบคุมน้ำ
ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งของบ้านเมืองสมัยโบราณ
เพราะผู้ศึกษาเทววิทยาทุกคนย่อมรู้กันดีว่า
สังข์ คือสิ่งที่พระนารายณ์ทรงใช้ควบคุมธาตุน้ำ เช่นเดียวกับเทพอาวุธอื่นๆ อีก ๓ ประการ ที่ชาวฮินดูเชื่อกันว่าทรงใช้ควบคุมธาตุดิน ลม และไฟครับ
และสังข์ของพระนารายณ์นั้น ก็มีชื่อเรียกว่า ปัญจชยะ (Panchajaya) หรือ ปัญจชัณยะ (Panchajanya)
และสังข์ของพระนารายณ์นั้น ก็มีชื่อเรียกว่า ปัญจชยะ (Panchajaya) หรือ ปัญจชัณยะ (Panchajanya)
และเพราะเหตุนี้ นามเมืองหริภุญไชย จึงมาจากการนำเอาคำว่า
หริ ซึ่งหมายถึงพระนารายณ์ มารวมเข้ากับนามของสังข์ซึ่งเป็นเทพอาวุธของพระองค์
เป็น หริปัญจชยะ หรือ หริปัญจชัณยะ แล้วมากร่อนในภายหลังจนกลายเป็นคำว่า
หริภุญไชย
(ไม่ใช่เรื่องพระพุทธเจ้าเสด็จมาฉันผลสมอ
ดังที่เผยแพร่กันอยู่ทั่วไปหรอกครับ คำอธิบายเช่นนั้นเป็นสิ่งที่เกิดจากการตีความของนักปราชญ์รุ่นหลัง ซึ่งนับถือพระพุทธศาสนา
และไม่เข้าใจที่มาที่ไปของคำว่า "หริภุญไชย" อีกต่อไปแล้ว
จึงต้องพยายามอธิบายด้วยการลากเข้าหาพุทธศาสนา)
ที่ผมกล่าวมาทั้งหมดนี้ ยังชี้ให้เห็นว่า
ท่านสุเทวฤาษีเป็นนักพรตฝ่ายไวษณพนิกาย ซึ่งนับถือพระวิษณุ
หรือพระนารายณ์เป็นเทพสูงสุดด้วยนะครับ เพราะ “วิชา” ที่ท่านนำมาใช้วางผังเมืองหริภุญไชยนี้
เป็นเทวศาสตร์ของไวษณพนิกาย
และในประเทศอินเดียทุกวันนี้
ยังมีอีกนามหนึ่งของท่านสุเทวฤาษี คือ วาสุเทพ (Vasudeva) เป็นตำแหน่งของคุรุในสายฤาษีไวษณพนิกายปรากฏอยู่นะครับ แม้ว่าจะไม่เป็นที่นิยมกันแล้ว
เพราะเป็นคุรุในสายวิชาที่โบราณมาก จนเข้ากันไม่ได้กับศาสนาฮินดูยุคปัจจุบัน
แต่ก็ยังพอหาได้ในสายวิชาของพระกฤษณะ
ซึ่งก็ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของไวษณพนิกายอยู่ดีครับ
ศาลพระสุเทวฤาษี แยกดอยติ ภาพจาก http://www.teepucks.com |
เพราะฉะนั้น แม้จะสนับสนุนพระนางจามเทวีในการวางรากฐานทางศาสนาพุทธอย่างเต็มกำลัง ท่านสุเทวฤาษีก็ไม่เพียงไม่ละทิ้งศาสนาฮินดู อันเป็นสรณะของท่าน
ท่านยังนำมาใช้ในเรื่องที่สำคัญที่สุดตั้งแต่แรก คือการวางรากฐานของนครหริภุญไชยเลยครับ
อีกประการหนึ่ง ขณะที่ทุกตำนานกล่าวถึงแต่ความเป็นพุทธมามกะของพระนางจามเทวี
และความเป็นพุทธนครของหริภุญไชย แต่หลักฐานทางโบราณคดีเกี่ยวแก่ศาสนาฮินดูในลำพูนนั้นก็มีอยู่
เช่น ประติมากรรมดินเผาขนาดเล็ก สำหรับประดับศาสนสถานต่างๆ ซึ่งจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชยเวลานี้ มีส่วนหนึ่งที่ทำเป็นรูปครุฑ ซึ่งเป็นพาหนะของพระนารายณ์
เช่น ประติมากรรมดินเผาขนาดเล็ก สำหรับประดับศาสนสถานต่างๆ ซึ่งจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชยเวลานี้ มีส่วนหนึ่งที่ทำเป็นรูปครุฑ ซึ่งเป็นพาหนะของพระนารายณ์
ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีข้อมูลซึ่งไม่ค่อยจะเป็นที่ทราบกันทั่วไปด้วยครับ
กล่าวคือ บริเวณเจดีย์บรรจุกรุพระพิมพ์ดินเผาในวัดมหาวันนั้น ได้มีการขุดพบเทวรูปสำริดพระนารายณ์สี่กร พระลักษมี พระอุมาขนาดเล็กจำนวนมาก
เพียงแต่เรื่องเหล่านี้ รู้กันเฉพาะในวงการผู้สะสมพระเครื่องเท่านั้นครับ มิได้ขยายวงไปสู่นักวิชาการ
กล่าวคือ บริเวณเจดีย์บรรจุกรุพระพิมพ์ดินเผาในวัดมหาวันนั้น ได้มีการขุดพบเทวรูปสำริดพระนารายณ์สี่กร พระลักษมี พระอุมาขนาดเล็กจำนวนมาก
เพียงแต่เรื่องเหล่านี้ รู้กันเฉพาะในวงการผู้สะสมพระเครื่องเท่านั้นครับ มิได้ขยายวงไปสู่นักวิชาการ
อีกทั้งแม้เราจะยังค้นไม่พบว่า มีเทวสถานสำหรับประกอบพิธีพราหมณ์ใดๆ
ในลำพูน แต่ผู้เฒ่าผู้แก่ก็เล่าขานสืบต่อกันมาว่า บริเวณที่ตั้งของ วัดสันป่ายางหลวง
ต.ในเมือง อ.เมือง ในอดีตนั้นเคยเป็น ศาลพราหมณ์ มาก่อน
เมื่อมีหลักฐานปรากฏดังนี้
เราก็อาจกล่าวได้ว่า ขณะที่ท่านสุเทวฤาษีได้ช่วยเหลือพระนางจามเทวีทั้งในการสร้างนครหริภุญไชย
และการปกครองพระนครแห่งใหม่นี้ โดยการวางรากฐานทางศาสนาพุทธเป็นหลัก แต่ท่านก็ได้ผสมผสานทั้งความรู้ และคติความเชื่อในศาสนาฮินดูไว้ด้วยในระดับหนึ่งอย่างแน่นอน
นอกจากนี้ ยังน่าพิจารณาด้วยนะครับ
ว่า เมื่อขุนวิลังคะใช้ไสยศาสตร์เดิมพันเอานครหริภุญไชย
การแก้อาคมของขุนวิลังคะนั้น อาจกระทำด้วยวิชาของท่านสุเทวฤาษี
ผู้ทรงอาคมจากนิกายแห่งพระวิษณุ
และรู้จักคุ้นเคยกับไสยศาสตร์ของชาวลัวะเป็นอย่างดี
มากกว่าที่จะใช้ไสยศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับผ้าซิ่น หรือเลือดประจำเดือนของผู้หญิง อันเป็นศาสตร์ของชาวล้านนายุคหลัง ที่เกิดไม่ทันรัชสมัยของพระนางจามเทวี
ก็เป็นไปได้นะครับ
มากกว่าที่จะใช้ไสยศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับผ้าซิ่น หรือเลือดประจำเดือนของผู้หญิง อันเป็นศาสตร์ของชาวล้านนายุคหลัง ที่เกิดไม่ทันรัชสมัยของพระนางจามเทวี
ก็เป็นไปได้นะครับ
เพียงแต่ ตำนานทุกฉบับที่กล่าวถึงพระนางจามเทวีนั้น
หากว่ามิได้เรียบเรียงโดยพระเถราจารย์ในพุทธศาสนา ก็คัดลอกต่อๆ
กันมาในวัดทางพุทธศาสนา
และเหตุผลของการคัดลอกตำนานเหล่านี้ไว้ ก็ชัดเจนว่าเกี่ยวเนื่องด้วยพุทธศาสนา
และเหตุผลของการคัดลอกตำนานเหล่านี้ไว้ ก็ชัดเจนว่าเกี่ยวเนื่องด้วยพุทธศาสนา
เพราะฉะนั้น จึงย่อมไม่มีพื้นที่ให้ศาสนาฮินดูในตำนานเหล่านี้
แม้ว่าเป็นสิ่งที่อาจจะมีความสำคัญอยู่มาก ทั้งในการวางกุศโลบาย และกลยุทธทางการเมืองการปกครอง ในรัชสมัยของพระนางจามเทวีก็ตาม
อนุสาวรีย์พระสุเทวฤาษี แยกดอยติ ลำพูน ภาพจาก http://www.sookjai.com |
แต่ถึงจะมีท่านสุเทวฤาษี ผู้เชี่ยวชาญในการวางโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดินอยู่เบื้องหลัง กุศโลบายและกลยุทธทางการเมืองทั้งหลาย ย่อมไม่อาจนำหริภุญไชยไปสู่แว่นแคว้นที่มั่นคงได้
ถ้าองค์พระนางจามเทวีนั้นเองทรงไร้พระปรีชาสามารถ
ดังนั้น ส่วนสำคัญที่สุดในการสถาปนาความเป็นปึกแผ่น เมื่อครั้งปฐมกาลแห่งรัฐหริภุญไชย ก็ยังคงขึ้นอยู่กับพระนางจามเทวีนั่นเองครับ
จารึกความสำเร็จของพระนางลงในหน้าประวัติศาสตร์ จนคนรุ่นหลังที่มีอคติต่อความสามารถของผู้หญิงยากที่จะยอมรับได้
………………………
หมายเหตุ :
เนื้อหาในบทความนี้ มีลิขสิทธิ์ ใครจะนำไปใช้อ้างอิงที่ใด ไม่ว่าส่วนใดส่วนหนึ่ง
หรือทั้งหมด จะต้องระบุ URL ของแต่ละบทความด้วย
และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าโดยเด็ดขาด
อนุสาวรีย์ของท่านที่ดอยติศักดิ์สิทธิ์มากค่ะ
ReplyDeleteได้ยินว่าที่วัดพระธาตุดอยคำก็ศักดิศิทธิ์เหมือนกันนะครับ เป็นรูปแบบเดียวกันด้วย
Deleteอ่านแล้วเกิดความสนใจ อยากบูชา "พระฤาษีวาสุเทพ" หน้าตัก 5 นิ้ว ของครูบาเหนือฤทธิ์ วัดท่านาค เชียงใหม่ ขึ้นมาทันที...อาจารย์คะ อาจารย์มีความเห็นยังไงกับวัตถุมงคลรุ่นนี้คะ
ReplyDeleteมีความเห็นว่า ถึงอยากบูชาตอนนี้ก็คงหมดไปแล้วละครับ เพราะสร้างจำนวนน้อยและสร้างมาหลายปีแล้ว อย่างไรก็ตาม, การบูชาพระนางจามเทวีโดยมีท่านสุเทวฤาษีอยู่ด้วย จะเป็นการบูชาที่สมบูรณ์ครับ
Deleteรู้จักฤาษีจากหนังจักรๆ วงศ์ๆ ไม่เคยมีความรู้เลยว่า ฤาษีจะมี "ตัวตน" อยู่จริงๆ และมีความสำคัญกับรากฐานทางประวัติศาสตร์ของเรามากขนาดนี้
ReplyDeleteเป็นอะไรที่ซับซ้อนและน่าค้นคว้ามากครับ ที่ผ่านมาเราพูดกันอยู่แค่ว่าไทยเราได้รับอิทธิพลทางศิลปวัฒนธรรมมาจากอินเดียมากมาย มีหลักฐานอยู่ทั่วไป แต่เรายังไม่ค่อยเจาะลึกกันว่าคนอินเดียที่นำสิ่งเหล่านั้นเข้ามาเมื่อ ๑,๐๐๐-๒,๐๐๐ ปีมาแล้วเป็นใคร มาจากไหนของอินเดีย และเข้ามาทำอะไรไว้ในพื้นที่ส่วนไหนบ้าง หลักฐานมีครับถ้าจะศึกษากันจริงๆ แต่ก็ต้องใช้วิริยบารมีมากหน่อย
Deleteขอบคุณมากครับที่เขียนบทความดีๆวิเคราะห์หลากมิติ อ่านแล้วได้ความรู้ดีครับ
ReplyDeleteขอบคุณที่ติดตามเช่นกันครับ
Deleteหากต้องการค้นอ่านบทความอื่นๆ ให้ไปที่ https://plus.google.com/u/0/+ArjarnJiab แล้วเข้าไปค้นใน collection รวม link บทความจาก blog จามเทวี ตำนานนางกษัตริย์ ได้เลยครับ